อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

การปฐมพยาบาลคนจมน้ำ



อาการ

คนที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้)
ร่วมด้วย ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศรีษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือ
ไอมีฟองเลือดเรื่อยๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ)บางคนอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต็นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดต่ำ หรือภาวะช็อก


การรักษา การปฐมพยาบาล


การช่วยเหลือคนที่จมน้ำอย่างถูกต้องก่อนส่งไปโรงพยาบาล มีผลต่อความเป็นความตายของผู้ป่วย
มาก ควรแนะนำวิธีปฐมพยาบาลดังนี้
1. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจทันที อย่ามัวเสียเวลาในการพยายามเอาน้ำออกจากปอดของผู้ป่วย (เช่น การจับแบก พาดบ่า) หรือทำการผายปอดด้วยวิธีอื่น เพราะจะไม่ทันกาลและไม่ได้ผล ถ้าเป็นไปได้ ควรลงมือเป่าปาก ตั้งแต่ก่อนขึ้นฝั่ง เช่น หลังจากพาขึ้นบนเรือ หรือพาเข้าที่ตื้น ๆ ได้ แล้ว เมื่อขึ้นบนฝั่งแล้ว ให้ทำการผายปอดด้วยการเป่าปากต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หรือพาไปส่งถึงโรงพยาบาลแล้ว วิธีการเป่าปากโดยละเอียด เมื่อเริ่มเป่าปากสักพัก ถ้าหากรู้สึกว่าลมเข้าปอดได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีน้ำอยู่เต็มท้อง อาจจับผู้ป่วยนอนคว่ำ แล้วใช้มือ 2 ข้าง วางอยู่ใต้ท้องผู้ป่วย ยกท้องผู้ป่วยขึ้นจะช่วยไล่น้ำออกจากท้องให้ไหลออกทางปากได้ แล้วจับผู้ป่วยพลิกหงาย และทำการเป่าปากต่อไป
2. ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจทันที(CPR)
3. ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง และศีรษะ หงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้ผู้ป่วยกินอาหารและดื่มน้ำทางปาก
4. ควรส่งผู้ป่วยที่จมน้ำไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด ไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทุกรายในรายที่หมดสติและหยุดหายใจ ควรผายปอดด้วยวิธีเป่าปากไปตลอดทาง อย่าเพิ่งรู้สึกหมดหวัง แล้วหยุดให้การช่วยเหลือ (เคยพบว่า การเป่าปากนานเป็นชั่วโมง ๆ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดและ หายขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจมน้ำที่มีความเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 70 ํF. หรือ 21.1 ํ C.)




ข้อแนะนำ
1.วิธีผายปอดแก่ผู้ป่วยจมน้ำที่แนะนำในปัจจุบัน คือ วิธีการเป่าปาก และให้ลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่าเสียเวลาในการจับแบกพาดบ่าเพื่อเอาน้ำออกจากปอด ดังที่เคยแนะนำกันในสมัยก่อน ส่วนการผายปอดด้วยมือ เช่น วิธีของซิลเวสเตอร์ (Silvester method ) หรือวิธีของโฮลเกอร์นีลเซน (Holger Nielsen method) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ทำ เพราะได้ผลน้อย
2. ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติ หรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 24-72 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา

การป้องกันควรหาทางป้องกัน

1. ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรือเล่นในบริเวณ ใกล้กับน้ำตามลำพัง
2. ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น
3. เวลาลงเรือหรือออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ
4. คนที่เมาเหล้า หรือเป็นโรคลมชัก ห้ามลงเล่นน้ำ





การปฐมพบาลตะคริว



อาการ

ผู้ป่วยอยู่ๆ รู้สึกกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใด (เช่น น่อง หรือต้นขา) มีการแข็งตัว และปวดมาก เอามือคลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน ถ้าพยายามขยับเขยื้อนกล้ามเนื้อส่วนนั้นจะทำให้ยิ่งแข็งตัวและปวดมากขึ้น การนวด และยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้น จะช่วยให้ตะคริวหายเร็วขึ้น ถ้าเป็นขณะนอนหลับ ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดจนสะดุ้งตื่น โดยทั่วไป จะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาทีก็หายได้เอง และไม่มีความผิดปกติอื่นๆ เกิดร่วมด้วย เมื่อหายแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกเป็นปกติทุกอย่าง


การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นมีหลักการดังนี้ ท่านจะต้องค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อออกให้อยู่ในความยาวที่ปกติของกล้ามเนื้อนั้นๆ และให้ยืดกล้ามเนื้ออยู่จนกระทั่งหายปวด อาจใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที แล้วลองปล่อยมือดูอาการว่ากล้ามเนื้อนั้นๆ ยังเกร็งอยู่หรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ ให้ทำซ้ำอีกจนกระทั่งปล่อยมือแล้วไม่มีการเกร็งตัว ถือว่าเพียงพอแล้ว

ขอยกตัวอย่างหากเกิดตะคริวที่น่อง ให้ท่านรีบเหยียดเข่าให้ตรง และรีบกระดกปลายเท้าขึ้น อาจทำเองหรือให้คนที่อยู่ใกล้ๆ ช่วยก็ได้ ถ้าท่านทำเองอาจก้มไปเอามือดึงปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ประมาณ 1 - 2 นาที จะสามารถแก้ปัญหาเรื่องปวดได้เป็นอย่างดี การบีบนวดขณะกล้ามเนื้อเกร็งตัวไม่ควรทำ แต่ถ้าหากกล้ามเนื้อคลายตัวแล้ว อาจบีบนวดโดยใช้มือบีบนวดไล่จากเอ็นร้อยหวายขึ้นไปจนถึงข้อเข่า ใช้ทิศทางเดียว เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดกลับไปสู่หัวใจได้ดีขึ้น





การรักษา

ขณะที่เป็นตะคริว ให้ทำการปฐมพยาบาล โดยใช้มือนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว หรือยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้ตึง เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ให้เหยียดหัวเข่าตรง และดึงปลายเท้ากระดกเข้าหาเข้าให้มากที่สุด ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขาให้เหยียดหัวเข่าตรง ยกเท้าขึ้นให้พ้นจากเตียงเล็กน้อย และกระดกปลายเท้าลงล่าง ไปทางด้านตรงข้ามกับหัวเข่า เนื่องจากตะคริวเป็นการหดตัวไม่คลายของกล้ามเนื้อ จุดมุ่งหมายการรักษา จึงมุ่งที่การยืด และบีบเพื่อให้มันคลายตัว เช่นว่า ถ้าเป็นที่น่อง ให้ลองเอามือหนึ่งบีบที่ส่วนเป็นตะคริว อีกมือหนึ่งให้ดึงเท้าขึ้น เป็นการยืดกล้ามเนื้อน่อง
ถ้าเป็นตะคริวขณะเข้านอนตอนกลางคืนบ่อยๆ เช่นหญิงที่ตั้งครรภ์ คนสูงอายุ ก่อนนอนควรดื่มนมให้มากขึ้นและยกขาสูง ใช้หมอนรองจากเตียงประมาณ 10 ซม. (4 นิ้ว) ในหญิงตั้งครรภ์ อาจให้ยาเม็ดแคลเซียมแลกเทตกินวันละ 1-3 เม็ด
ถ้าเป็นตะคริวจากการเสียเกลือโซเดียม เช่นเกิดจากท้องเดิน อาเจียน เหงื่อออกมาก ควรให้ดื่มน้ำเกลือผสมเอง ถ้าดื่มไม่ได้ ควรให้น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ทางหลอดเลือดดำ
ถ้าเป็นๆ หายๆ บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นขณะเดินนานๆ ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ อาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่ขา หรือมีภาวะหลอดเลือดแข็งจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือโรคอื่นๆ ถ้าเป็นบ่อยมากควรหาสาเหตุ ตรวจเช็คว่ายาที่รับประทานอยู่เป็นสาเหตุของตะคริวได้หรือไม่ อาจต้องตรวจหาโรคทางกายดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปมักไม่ค่อยพบสาเหตุ
ในกรณีที่ไม่พบสาเหตุ ควรให้กินไดเฟนไฮดรามีน ขนาด 50 มก. ก่อนนอน อาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวขณะเข้านอนได้ การแก้ไขในระยะยาว เราควรดูที่สาเหตุ ถ้าเป็นจากออกกำลังมากไป ให้ลดลง ถ้าเป็นจากขาดแร่ธาตุ ให้กินชดเชย ถ้าเป็นจากหายใจผิด ให้ฝึกหายใจเสียใหม่ เป็นต้น
การรักษาที่ดีอย่างหนึ่งคือ การยืดกล้ามเนื้อที่เกิดตะคริว นั้นให้คลายออกอย่างช้าๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดตะคริวที่น่องจะทำให้เกิดเกร็งปลายเท้าจิกชี้ลงพื้นดิน ก็ให้ทำการดันปลายเท้าให้กระดกขึ้นช้าๆ แต่ห้ามทำการกระตุก กระชากรุนแรงอย่างรวดเร็ว เพราะจะเจ็บปวดจนกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ในรายที่เป็นบ่อยๆ มีการใช้ยาบางอย่าง เช่น ควินีนและยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิด ซึ่งอาจใช้ในระยะสั้นๆ เช่น 4-6 สัปดาห์และดูการตอบสนอง แต่ผลการศึกษาถึงประโยชน์ยังไม่ชัดเจนนัก และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ในบางราย เช่น เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ ตับอักเสบ หูอื้อ เสียงดังในหู เวียนศีรษะได้ เป็นต้น ดังนั้นโดยทั่วไปมักไม่ค่อยได้ใช้กันทั่วไป


การป้องกัน

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือคนที่ขาดการออกกำลังกายที่ดีพอ
การฝึกการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ อาจลดโอกาสการเกิดตะคริวได้ เช่น ที่น่องอาจทำได้โดยการกระดกเท้าขึ้นลง หรือเอามือแตะปลายเท้าขณะเหยียดเข่า ปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือยืนบนส้นเท้าห่างผนัง 1 ฟุตแล้วเอามือทาบผนังและค่อยๆ เหยียดแขนออกเพื่อยืดกล้ามเนื้อประมาณ 30 วินาทีแล้วทำใหม่ เป็นต้น
ถ้าออกกำลังกายหนักควรดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอ
ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ผู้สูงอายุควรค่อยๆ ขยับแขนขาช้าๆ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นมากๆ
สวมรองเท้าที่พอเหมาะและอาจใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อป้องกันการเกร็งของเท้า
ในรายที่เป็นบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุตะคริว

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2562

การปฐมพยาบาลคนเป็นลม

เป็นลม (Faint)  คือ อาการที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะและเกิดขึ้นกะทันหัน ทำให้หมดสติไปในระยะเวลาสั้น ๆ  สาเหตุที่พบได้บ่อยเนื่องจากระดับความดันในเลือดต่ำ หรือเป็นผลมาจากปัญหาสุขภาพในส่วนอื่น ๆ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ โรคโลหิตจาง โรคเบาหวาน ความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวลสูง การขาดออกซิเจน การเปลี่ยนอิริยาบถจากนอนเป็นนั่ง จากนั่งเป็นยืนเร็วเกินไป ผู้ที่เป็นลมส่วนใหญ่จะฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ในเวลาไม่นานหลังจากได้นอนราบลงไป เป็นลมเป็นอาการที่ไม่รุนแรง แต่ควรไปพบแพทย์หากสงสัยว่าการเป็นลมอาจเป็นอาการเตือนของโรคอื่น ๆ


อาการเป็นลม

เป็นลม เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ทั้งตอนนั่ง ยืน หรือแม้แต่ตอนที่ลุกขึ้นหรือเปลี่ยนท่าเร็วเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้รู้สึกอ่อนแรงก่อนจะหมดสติ ในบางรายอาจพบอาการเตือนก่อนเป็นลมในช่วงเวลาเพียงไม่กี่วินาที โดยจะพบอาการต่อไปนี้
1.หาว
2.วิงเวียน ปวดศีรษะ หรือมีอาการบ้านหมุน
3.หน้าซีด อ่อนแรง เหงื่อออกมาก
4.สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นจุดสีดำหรือสีเทา
5.หูอื้อ หรือรู้สึกมีเสียงในหู
6.หายใจสั้นและหายใจเร็ว
7.รู้สึกคลื่นไส้หรืออาเจียน
8.รู้สึกชาที่ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว

หลังจากรู้สึกตัวหรือฟื้นจากการเป็นลมมักจะรู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนแรงประมาณ 30 นาที รวมถึงอาจไม่สามารถจำเหตุการณ์ในช่วงก่อนเป็นลมได้ ควรไปพบแพทย์หากพบว่าเป็นลมในช่วงระหว่างการออกกำลังกาย หรือมีอาการหัวใจสั่น หรือมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วผิดปกติ หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นลมหรือเสียชีวิตกะทันหัน การเป็นลมอาจเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ หากพบผู้ที่เป็นลมเกิน 2 นาที ควรโทรเรียกรถพยาบาลด่วน

อาการเป็นลมอาจมีลักษณะที่คล้ายกับอาการของโรคหลอดเลือดในสมองที่เกิดขึ้นจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ควรรีบโทรเรียกรถพยาบาลด่วน หากพบผู้ที่มีลักษณะหรืออาการดังต่อไปนี้

หน้าเบี้ยว หนังตาตก ไม่สามารถยิ้มหรือขยับปากได้ปกติ
ไม่สามารถยกแขนข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้างได้ เนื่องจากมีอาการชาหรืออ่อนแรง
ไม่สามารถพูดได้อย่างชัดเจน หรือพูดจาอ้อแอ้

สาเหตุของอาการเป็นลม

เป็นลม สาเหตุมีหลายประเภทและสาเหตุยังไม่แน่ชัด อาจมีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้เป็นลมได้ เช่น ความดันในเลือดที่ลดต่ำลง ความเครียด ความกลัว ความหิว ความร้อน การยืนในท่าเดิมเป็นเวลานาน ลุกขึ้นเร็วเกินไป ไออย่างรุนแรง โรค หรือเป็นผลมาจากการดื่มแอลกอฮอล์หรือการใช้สารเสพติด อาการเป็นลมที่พบได้โดยทั่วไปแบ่งได้หลายประเภท แต่ที่พบบ่อย คือ

Vasovagal Syncope หรือเป็นลมธรรมดา อาจมีการเกร็งร่วมด้วยในบางราย มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีร่างกายหรือจิตใจที่อ่อนแอ ผู้ที่มีความเครียดสูง ผู้ที่อยู่ในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน รวมถึงผู้ที่เป็นลมเพราะเห็นเลือดหรือเห็นสิ่งที่ไม่พึงประสงค์
Carotid Sinus Syncope เป็นผลมาจากหลอดเลือดแดงในลำคอตีบ มักเกิดขึ้นหลังจากมีการหันศีรษะไปทางใดทางหนึ่งนานเกินไป การนวด หรือการใส่เสื้อคอปกที่มีการรัดแน่นบริเวณลำคอมากเกินไป
Situational Syncope เกิดจากการกระตุ้นของสถานการณ์บางอย่าง เช่น การไอ การจาม การบิดเอว การปัสสาวะหรืออุจจาระ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร

นอกจากนี้ รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของการเป็นลม ได้แก่

ความดันโลหิตต่ำเมื่อเปลี่ยนท่าทาง (Orthostatic Hypotension) จะเกิดขึ้นเมื่อเวลานั่งหรือนอนเป็นเวลานานแล้วลุกขึ้นยืนทันที เพราะความดันในเลือดลดต่ำลงและทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองมีปริมาณไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ ผู้ที่อยู่ในภาวะขาดน้ำ ส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาทในการรักษาระดับความดันในเลือดให้เป็นปกติ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ปัสสาวะบ่อยจึงเป็นเหตุให้ร่างกายสูญเสียน้ำ ผู้ที่ใช้ยารักษาอาการซึมเศร้า (Antidepressant Drugs) หรือการใช้ยารักษาความดันโลหิตสูง รวมถึงผู้ป่วยโรคพาร์กินสันหรือผู้ที่มีเงื่อนไขทางระบบประสาท
ปัญหาของหัวใจ (Cardiac Syncope) ส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดที่จะไปเลี้ยงสมองและทำให้เป็นลมได้ ความเสี่ยงหลักคืออายุที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ มีประวัติการหัวใจวาย มีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างของหัวใจ ผนังห้องหัวใจอ่อนแอ (Ventricular Dysfunction) หลอดเลือดหัวใจตีบแคบหรืออุดตัน อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือการเต้นของหัวใจที่ผิดจังหวะ
สมองขาดออกซิเจนเฉียบพลัน (Reflex Anoxic Seizures) มักพบมากในเด็กเล็ก เป็นผลมาจากอัตราการเต้นหัวใจที่ลดลง และอาจหยุดเต้นไปประมาณ 5-30 วินาที เด็กจะอ้าปากเหมือนตอนร้องไห้ แต่ไม่มีเสียงออกมาก่อนที่จะตัวซีด อาจมีอาการตัวแข็งทื่อหรือตัวอ่อนปวกเปียก ตาเหลือกและเป็นลมหมดสติไป รวมถึงมีอาการชักร่วมด้วยประมาณ 1 นาที หลังจากนั้นเด็กจะฟื้นและมีอาการเป็นปกติ อาการนี้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวเด็กแต่จะอาจทำให้คนที่พบเห็นตกใจได้ โดยปกติอาการจะดีขึ้นหรือหายไปเมื่อเด็กมีอายุ 4-5 ปี
โรคหอบจากอารมณ์หรือภาวะหายใจเกิน (Hyperventilation Syndrome) เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองต่ออารมณ์และความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้น เช่น ความเครียด ความกลัว ความวิตกกังวล ด้วยการหายใจเอาออกซิเจนเข้าและปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากร่างกายเร็วเกินไป

การวินิจฉัยอาการเป็นลม

ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปกติทั่วไปหากเป็นลมในครั้งแรก อาจยังไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ผู้ที่เคยมีประวัติการเป็นลม หรือเป็นลมบ่อยครั้ง ควรไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยปัญหาหรือสาเหตุที่แท้จริงของการเป็นลม โดยแพทย์มีแนวทางในการวินิจฉัยโดยตรวจร่างกาย สอบถามเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ ประวัติการใช้ยา สอบถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงที่เป็นลม เช่น ทำอะไรอยู่ก่อนที่จะเป็นลม มีความรู้สึกอย่างไรก่อนที่จะเป็นลม หรืออาจตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้

การตรวจเลือด เพื่อหาสมดุลของสารเคมีในร่างกายและโรคโลหิตจาง
การตรวจระบบประสาท เช่น การตรวจศีรษะด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการตรวจคลื่นสมอง (Electroencephalogram: EEG)
การตรวจหัวใจ เช่น การตรวจด้วยเตียงปรับระดับ (Tilt Table Test) การตรวจบันทึกการทำงานของหัวใจ 24 ชั่วโมง (Holter Monitor) การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram) การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG)

การรักษาอาการเป็นลม

เป็นลม รักษาได้ตามการวินิจฉัยของแพทย์ ขึ้นอยู่กับสาเหตุหรือปัญหาที่ทำให้เป็นลม และความถี่ที่เกิดอาการ เช่น การเป็นลมที่ไม่ได้มีอาการบ่อยและไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แพทย์อาจจ่ายยาเพื่อรักษาสาเหตุหรือปัญหาที่ทำให้เป็นลม อาจต้องใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจในผู้ที่เป็นลมจากสาเหตุของจังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ หรือใส่อุปกรณ์เสริมเพื่อปรับความดันโลหิต รวมทั้งแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูงเพื่อป้องกันภาวะความดันในเลือดต่ำ

วิธีการปฎิบัติตัวหรือการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อพบเห็นคนเป็นลม

หากพบว่ายังหายใจอยู่ ควรจัดคนเป็นลมให้อยู่ในท่านอนและยกขาขึ้นให้อยู่ในระดับที่สูงกว่าหัวใจประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมอง แล้วหันศีรษะไปด้านข้าง เพื่อป้องกันไม่ให้ลิ้นบังทางเดินหายใจ รวมถึงปลดเข็มขัด กระดุม ปกเสื้อ หรือเสื้อผ้าที่รัดแน่นจนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นลมซ้ำอีกครั้ง และไม่ควรให้รีบลุกขึ้น
หากพบว่าหยุดหายใจ ควรทำปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ (Cardiopulmonary Resuscitation: CPR) จนกว่าจะหายใจหรือกลับมามีสติอีกครั้ง หรือโทรเรียกรถพยาบาลในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินได้ทั้ง 3 หมายเลข คือ 1669 (ศูนย์นเรนทร) 1691 (ศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาลกรมตำรวจ) หรือ 1554 (หน่วยกู้ชีพ กรุงเทพมหานคร)
ภาวะแทรกซ้อนของอาการเป็นลม

ผู้ที่เป็นลมจะไม่รู้สึกตัว และอาจจะจำเหตุการณ์ในช่วงก่อนการเป็นลมไม่ได้ เป็นลมมักเกิดขึ้นพร้อมอาการหมดสติ บางรายถ้ายืนอยู่อาจล้มลงไปที่พื้น ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่ร่างกาย อาจทำให้เนื้อเยื่อ ผิวหนัง กล้ามเนื้อ กระดูก หรือศีรษะได้รับการกระแทกจนเกิดความเสียหาย รวมไปถึงความสามารถในการเคลื่อนไหว การเดิน การวิ่ง โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

การป้องกันอาการเป็นลม

การเป็นลม ป้องกันได้ หากรู้ถึงสาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เป็นลม หรือปฏิบัติตามแนวทางดังต่อไปนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดซ้ำ เช่น

ถ้าเป็นลมจากความหิว ควรรับประทานอาหารตามเวลาปกติ ไม่ควรอดอาหาร
หากเคยมีประวัติเป็นลมเพราะเห็นเลือด ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบก่อนการเจาะเลือด หรือตรวจเลือด
ไม่ควรรีบเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น จากนอนเป็นนั่ง หรือจากนั่งเป็นลุกขึ้นยืน
หากรู้สึกว่าจะเป็นลมหรือพบว่ามีอาการเตือนก่อนเป็นลมควรนั่งหรือนอนพัก
พยายามกำหนดลมหายใจให้สม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหอบจากอารมณ์หรือภาวะหายใจเกิน ที่มีสาเหตุมาจากความเครียดหรือความกลัว


ผู้ที่เป็นลมโดยมีสาเหตุมาจากปัญหาของโรคที่เกี่ยวกับหัวใจ ควรรับประทานอาหารที่มีโซเดียมสูง และดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำและรักษาระดับความดันโลหิต

การปฐมพยาบาลคนจมน้ำ

อาการ คนที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้) ร่วมด้วย ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวด...