อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

การปฐมพยาบาลคนจมน้ำ



อาการ

คนที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้)
ร่วมด้วย ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวดศรีษะ เจ็บหน้าอก อาเจียน กระวนกระวาย หรือ
ไอมีฟองเลือดเรื่อยๆ (ซึ่งแสดงว่ามีภาวะปอดบวมน้ำ)บางคนอาจตรวจพบภาวะหัวใจเต็นเร็วผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันเลือดต่ำ หรือภาวะช็อก


การรักษา การปฐมพยาบาล


การช่วยเหลือคนที่จมน้ำอย่างถูกต้องก่อนส่งไปโรงพยาบาล มีผลต่อความเป็นความตายของผู้ป่วย
มาก ควรแนะนำวิธีปฐมพยาบาลดังนี้
1. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจทันที อย่ามัวเสียเวลาในการพยายามเอาน้ำออกจากปอดของผู้ป่วย (เช่น การจับแบก พาดบ่า) หรือทำการผายปอดด้วยวิธีอื่น เพราะจะไม่ทันกาลและไม่ได้ผล ถ้าเป็นไปได้ ควรลงมือเป่าปาก ตั้งแต่ก่อนขึ้นฝั่ง เช่น หลังจากพาขึ้นบนเรือ หรือพาเข้าที่ตื้น ๆ ได้ แล้ว เมื่อขึ้นบนฝั่งแล้ว ให้ทำการผายปอดด้วยการเป่าปากต่อไป จนกว่าผู้ป่วยจะหายใจได้เอง หรือพาไปส่งถึงโรงพยาบาลแล้ว วิธีการเป่าปากโดยละเอียด เมื่อเริ่มเป่าปากสักพัก ถ้าหากรู้สึกว่าลมเข้าปอดได้ไม่เต็มที่เนื่องจากมีน้ำอยู่เต็มท้อง อาจจับผู้ป่วยนอนคว่ำ แล้วใช้มือ 2 ข้าง วางอยู่ใต้ท้องผู้ป่วย ยกท้องผู้ป่วยขึ้นจะช่วยไล่น้ำออกจากท้องให้ไหลออกทางปากได้ แล้วจับผู้ป่วยพลิกหงาย และทำการเป่าปากต่อไป
2. ถ้าคลำชีพจรไม่ได้ หรือหัวใจหยุดเต้น ให้ทำการนวดหัวใจทันที(CPR)
3. ถ้าผู้ป่วยยังหายใจได้เอง หรือช่วยเหลือจนหายใจได้แล้ว ควรจับผู้ป่วยนอนตะแคงข้าง และศีรษะ หงายไปข้างหลัง เพื่อให้น้ำไหลออกทางปาก ใช้ผ้าห่มคลุมผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความอบอุ่น อย่าให้ผู้ป่วยกินอาหารและดื่มน้ำทางปาก
4. ควรส่งผู้ป่วยที่จมน้ำไม่ว่าจะมีอาการหนักเบาเพียงใด ไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลทุกรายในรายที่หมดสติและหยุดหายใจ ควรผายปอดด้วยวิธีเป่าปากไปตลอดทาง อย่าเพิ่งรู้สึกหมดหวัง แล้วหยุดให้การช่วยเหลือ (เคยพบว่า การเป่าปากนานเป็นชั่วโมง ๆ สามารถช่วยให้ผู้ป่วยรอดและ หายขาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าจมน้ำที่มีความเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า 70 ํF. หรือ 21.1 ํ C.)




ข้อแนะนำ
1.วิธีผายปอดแก่ผู้ป่วยจมน้ำที่แนะนำในปัจจุบัน คือ วิธีการเป่าปาก และให้ลงมือทำให้เร็วที่สุด อย่าเสียเวลาในการจับแบกพาดบ่าเพื่อเอาน้ำออกจากปอด ดังที่เคยแนะนำกันในสมัยก่อน ส่วนการผายปอดด้วยมือ เช่น วิธีของซิลเวสเตอร์ (Silvester method ) หรือวิธีของโฮลเกอร์นีลเซน (Holger Nielsen method) เป็นต้น ไม่แนะนำให้ทำ เพราะได้ผลน้อย
2. ผู้ป่วยที่จมน้ำทุกรายไม่ว่าจะหมดสติ หรือหยุดหายใจหรือไม่ก็ตาม ควรพักรักษาตัวในโรงพยาบาลอย่างน้อย 24-72 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวัง ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในเวลาต่อมา

การป้องกันควรหาทางป้องกัน

1. ระวังอย่าให้เด็กเล็กเล่นน้ำหรือเล่นในบริเวณ ใกล้กับน้ำตามลำพัง
2. ควรส่งเสริมให้เด็กฝึกว่ายน้ำให้เป็น
3. เวลาลงเรือหรือออกทะเล ควรเตรียมชูชีพไว้ให้พร้อมเสมอ
4. คนที่เมาเหล้า หรือเป็นโรคลมชัก ห้ามลงเล่นน้ำ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปฐมพยาบาลคนจมน้ำ

อาการ คนที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้) ร่วมด้วย ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวด...