อักษรวิ่ง

เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2562

การปฐมพบาลตะคริว



อาการ

ผู้ป่วยอยู่ๆ รู้สึกกล้ามเนื้อส่วนหนึ่งส่วนใด (เช่น น่อง หรือต้นขา) มีการแข็งตัว และปวดมาก เอามือคลำดูจะรู้สึกแข็งเป็นก้อน ถ้าพยายามขยับเขยื้อนกล้ามเนื้อส่วนนั้นจะทำให้ยิ่งแข็งตัวและปวดมากขึ้น การนวด และยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้น จะช่วยให้ตะคริวหายเร็วขึ้น ถ้าเป็นขณะนอนหลับ ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดจนสะดุ้งตื่น โดยทั่วไป จะเป็นอยู่เพียงไม่กี่นาทีก็หายได้เอง และไม่มีความผิดปกติอื่นๆ เกิดร่วมด้วย เมื่อหายแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกเป็นปกติทุกอย่าง


การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นมีหลักการดังนี้ ท่านจะต้องค่อยๆ ยืดกล้ามเนื้อออกให้อยู่ในความยาวที่ปกติของกล้ามเนื้อนั้นๆ และให้ยืดกล้ามเนื้ออยู่จนกระทั่งหายปวด อาจใช้เวลาประมาณ 1-2 นาที แล้วลองปล่อยมือดูอาการว่ากล้ามเนื้อนั้นๆ ยังเกร็งอยู่หรือไม่ ถ้ายังมีอยู่ ให้ทำซ้ำอีกจนกระทั่งปล่อยมือแล้วไม่มีการเกร็งตัว ถือว่าเพียงพอแล้ว

ขอยกตัวอย่างหากเกิดตะคริวที่น่อง ให้ท่านรีบเหยียดเข่าให้ตรง และรีบกระดกปลายเท้าขึ้น อาจทำเองหรือให้คนที่อยู่ใกล้ๆ ช่วยก็ได้ ถ้าท่านทำเองอาจก้มไปเอามือดึงปลายเท้าเข้าหาตัว ค้างไว้ประมาณ 1 - 2 นาที จะสามารถแก้ปัญหาเรื่องปวดได้เป็นอย่างดี การบีบนวดขณะกล้ามเนื้อเกร็งตัวไม่ควรทำ แต่ถ้าหากกล้ามเนื้อคลายตัวแล้ว อาจบีบนวดโดยใช้มือบีบนวดไล่จากเอ็นร้อยหวายขึ้นไปจนถึงข้อเข่า ใช้ทิศทางเดียว เพื่อช่วยให้การไหลเวียนของเลือดกลับไปสู่หัวใจได้ดีขึ้น





การรักษา

ขณะที่เป็นตะคริว ให้ทำการปฐมพยาบาล โดยใช้มือนวดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว หรือยืดกล้ามเนื้อส่วนนั้นให้ตึง เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ให้เหยียดหัวเข่าตรง และดึงปลายเท้ากระดกเข้าหาเข้าให้มากที่สุด ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขาให้เหยียดหัวเข่าตรง ยกเท้าขึ้นให้พ้นจากเตียงเล็กน้อย และกระดกปลายเท้าลงล่าง ไปทางด้านตรงข้ามกับหัวเข่า เนื่องจากตะคริวเป็นการหดตัวไม่คลายของกล้ามเนื้อ จุดมุ่งหมายการรักษา จึงมุ่งที่การยืด และบีบเพื่อให้มันคลายตัว เช่นว่า ถ้าเป็นที่น่อง ให้ลองเอามือหนึ่งบีบที่ส่วนเป็นตะคริว อีกมือหนึ่งให้ดึงเท้าขึ้น เป็นการยืดกล้ามเนื้อน่อง
ถ้าเป็นตะคริวขณะเข้านอนตอนกลางคืนบ่อยๆ เช่นหญิงที่ตั้งครรภ์ คนสูงอายุ ก่อนนอนควรดื่มนมให้มากขึ้นและยกขาสูง ใช้หมอนรองจากเตียงประมาณ 10 ซม. (4 นิ้ว) ในหญิงตั้งครรภ์ อาจให้ยาเม็ดแคลเซียมแลกเทตกินวันละ 1-3 เม็ด
ถ้าเป็นตะคริวจากการเสียเกลือโซเดียม เช่นเกิดจากท้องเดิน อาเจียน เหงื่อออกมาก ควรให้ดื่มน้ำเกลือผสมเอง ถ้าดื่มไม่ได้ ควรให้น้ำเกลือนอร์มัลซาไลน์ทางหลอดเลือดดำ
ถ้าเป็นๆ หายๆ บ่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นขณะเดินนานๆ ควรแนะนำผู้ป่วยไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจหาสาเหตุ อาจมีความผิดปกติเกี่ยวกับการไหลเวียนของเลือดที่ขา หรือมีภาวะหลอดเลือดแข็งจากเบาหวาน ความดันโลหิตสูงหรือโรคอื่นๆ ถ้าเป็นบ่อยมากควรหาสาเหตุ ตรวจเช็คว่ายาที่รับประทานอยู่เป็นสาเหตุของตะคริวได้หรือไม่ อาจต้องตรวจหาโรคทางกายดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปมักไม่ค่อยพบสาเหตุ
ในกรณีที่ไม่พบสาเหตุ ควรให้กินไดเฟนไฮดรามีน ขนาด 50 มก. ก่อนนอน อาจช่วยป้องกันไม่ให้เป็นตะคริวขณะเข้านอนได้ การแก้ไขในระยะยาว เราควรดูที่สาเหตุ ถ้าเป็นจากออกกำลังมากไป ให้ลดลง ถ้าเป็นจากขาดแร่ธาตุ ให้กินชดเชย ถ้าเป็นจากหายใจผิด ให้ฝึกหายใจเสียใหม่ เป็นต้น
การรักษาที่ดีอย่างหนึ่งคือ การยืดกล้ามเนื้อที่เกิดตะคริว นั้นให้คลายออกอย่างช้าๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเกิดตะคริวที่น่องจะทำให้เกิดเกร็งปลายเท้าจิกชี้ลงพื้นดิน ก็ให้ทำการดันปลายเท้าให้กระดกขึ้นช้าๆ แต่ห้ามทำการกระตุก กระชากรุนแรงอย่างรวดเร็ว เพราะจะเจ็บปวดจนกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ ในรายที่เป็นบ่อยๆ มีการใช้ยาบางอย่าง เช่น ควินีนและยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิด ซึ่งอาจใช้ในระยะสั้นๆ เช่น 4-6 สัปดาห์และดูการตอบสนอง แต่ผลการศึกษาถึงประโยชน์ยังไม่ชัดเจนนัก และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ในบางราย เช่น เกล็ดเลือดต่ำ เม็ดเลือดขาวต่ำ ตับอักเสบ หูอื้อ เสียงดังในหู เวียนศีรษะได้ เป็นต้น ดังนั้นโดยทั่วไปมักไม่ค่อยได้ใช้กันทั่วไป


การป้องกัน

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะตะคริวมักเกิดในผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ หรือคนที่ขาดการออกกำลังกายที่ดีพอ
การฝึกการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ อาจลดโอกาสการเกิดตะคริวได้ เช่น ที่น่องอาจทำได้โดยการกระดกเท้าขึ้นลง หรือเอามือแตะปลายเท้าขณะเหยียดเข่า ปั่นจักรยานอยู่กับที่ หรือยืนบนส้นเท้าห่างผนัง 1 ฟุตแล้วเอามือทาบผนังและค่อยๆ เหยียดแขนออกเพื่อยืดกล้ามเนื้อประมาณ 30 วินาทีแล้วทำใหม่ เป็นต้น
ถ้าออกกำลังกายหนักควรดื่มน้ำและเกลือแร่ทดแทนให้เพียงพอ
ควรพักผ่อนให้เพียงพอ
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
ผู้สูงอายุควรค่อยๆ ขยับแขนขาช้าๆ และหลีกเลี่ยงอากาศเย็นมากๆ
สวมรองเท้าที่พอเหมาะและอาจใส่ถุงเท้าตอนนอนเพื่อป้องกันการเกร็งของเท้า
ในรายที่เป็นบ่อยๆ ควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุตะคริว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การปฐมพยาบาลคนจมน้ำ

อาการ คนที่จมน้ำมักจะมีอาการหมดสติ และหยุดหายใจ บางคนหัวใจอาจหยุดเต้น (คลำชีพจรไม่ได้) ร่วมด้วย ถ้าไม่ถึงกับหมดสติ ก็อาจมีอาการปวด...